วันอังคารที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

สมเด็จเจ้าพระยา บรมมหาศรีสุริยวงศ์

 
 
สมเด็จเจ้าพระยา
บรมมหาศรีสุริยวงศ์
 
             สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง  บุนนาค)  เป็นบุตรชายคนใหญ่ของสมเด็จเจ้าพระยามหาประยูรวงศ์ (ดิศ)  กับท่านผู้หญิงจันทร์  เกิดเมื่อวันที่ ๒๓ ธันวาคม  พ.ศ. ๒๓๕๑  ในวัยเด็กได้รับการศึกษาจากวัด  เมื่อเข้าสู่วัยรุ่นในสมัยรัชกาลที่ ๒ บิดาซึ่งขณะนั้นเป็นพระยาพระคลัง  นำไปถวายตัวเป็นมหาดเล็ก และทำงานด้านพระคลังและกรมท่าอยู่กับบิดา  ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๓  รับราชการมีความชอบมาก  ได้เลื่อนบรรดาศักดิ์มาตามลำดับ  จนเป็นหมื่นไวยวรนาถ  ใน พ.ศ. ๒๓๘๔  และเป็นพระยาศรีสุริยวงศ์ในตอนปลายรัชกาล  ครั้นถึงสมัยรัชกาลที่ ๔  ได้เลื่อนขึ้นเป็นเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์  ว่าที่สมุหกลาโหมเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์เป็นผู้ฝักใฝ่สนใจศึกษาศิลปวิทยาของตะวันตก จึงจัดเป็นพวกหัวใหม่คนหนึ่งของสมัยนั้น  ท่านกับบิดาของท่านได้คอยช่วยเหลือสนับสนุนพวกมิชชันนารีที่เข้ามาสมัยรัชกาลที่ ๓  เพื่อให้เผยแพร่วิทยาการและเทคโนโลยีสมัยใหม่ออกไป  เมื่อเซอร์จอห์นเบาว์ริง  เข้า มาทำสนธิสัญญาเบาว์ริงกับไทยในสมัยรัชกาลที่ ๔ เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ทรงเป็น ๑ ใน ๕ ที่รัชกาลที่ ๔ ทรงแต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษาข้อสัญญากับเซอร์จอห์น เบาว์ริง  ทำการทำสนธิสัญญาสำเร็จลุล่วงได้ด้วยดี  และต่อมาท่านได้เป็นผู้แทนฝ่ายไทยในการทำสนธิสัญญาลักษณะเดียวกันกับนานาประเทศในตอนปลายรัชกาลที่ ๔  พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว  ซึ่งเป็นวังหน้าหรือพระมหาอุปราชสวรรคต รัชกาลที่ ๔ ไม่ได้ทรงตั้งผู้หนึ่งผู้ใดขึ้นแทน ครั้นเมื่อรัชกาลที่ ๔ สวรรคตใน พ.ศ. ๒๔๑๑  ที่ประชุมเสนาบดีและพระบรมวงศานุวงศ์จึงได้อัญเชิญเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ขึ้นเสวยราชย์เป็นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  และเชิญเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ขึ้นเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน  โดยมีมติเป็นเอกฉันท์  นอกจากนี้ยังเชิญกรมหมื่นบวรวิชัยชาญ  พระโอรสองค์ใหญ่ของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว  ขึ้นเป็นกรมพระราชวังบวงสถานมงคล แม้จะมีผู้คัดค้านว่าการตั้งผู้ดำรงตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคล  ควรให้เป็นพระราชอำนาจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  แต่เสียงส่วนใหญ่ก็เห็นว่าควงจะตั้งไปเลย  ทั้งนี้อาจเพราะเกรงใจ เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์  ซึ่งสนับสนุนกรมหมื่นบวรวิชัยชาญนับเป็นครั้งแรกในสมัยรัตนโกสินทร์ที่พระมหากษัตริย์ขึ้นเสวยราชย์  ขณะพระชนมพรรษาเพียง ๑๕ พรรษา  และมีผู้ดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแผ่นดินเป็นผู้ใช้อำนาจแทน  จึงมีผู้หวั่นเกรงว่าอาจมีการชิงราชสมบัติดังเช่นที่พระยากลาโหมกระทำในสมัยอยุธยา  แต่เหตุการณ์เช่นนั้นก็มิได้เกิดขึ้น  เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์  ได้บริหารราชการมาด้วยความเรียบร้อย  พร้อมกันนั้นก็ได้จัดให้รัชกาลที่ ๕  ทรงได้รับการฝึกหัดการเป็นพระมหากษัตริย์ตามโบราณราชประเพณี  และให้ทรงเรียนรู้ศิลปวิทยาการสมัยใหม่ควบคู่ไปด้วย  นอกจากนั้นยังจัดให้เสด็จประพาสสิงคโปร์และชวาใน พ.ศ. ๒๔๓๑  อินเดียและพม่าใน พ.ศ. ๒๔๑๕  เพื่อทอดพระเนตรแบบแผนการปกครอง ขนบธรรมเนียมประเพณี ความเจริญของประเทศที่อยู่ในความปกครองของตะวันตก  ซึ่งรัชกาลที่ ๕ ได้ทรงนำแบบอย่างที่เหมาะสมมาปรับปรุงประเทศให้เจริญก้าวหน้าในเวลาต่อมาเมื่อรัชกาลที่ ๕  ทรงบรรลุนิติภาวะใน พ.ศ. ๒๔๑๖  ได้มีพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเป็นครั้งที่ ๒  ซึ่งแสดงว่าจะทรงว่าราชการบ้านเมืองเอง  ในพระราชพิธีครั้งนี้โปรดเกล้าฯ  ให้เลื่อนบรรดาศักดิ์เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์เป็นสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์
                แม้สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์จะพ้นจากตำแหน่งผู้สำเร็จราชกาลแผ่นดินแล้ว  แต่ก็คงทำหน้าที่ที่ปรึกษาราชการแผ่นดินต่อมา  จนถึงแก่พิราลัยใน พ.ศ. ๒๔๒๕  รวมอายุได้ ๗๔  ปี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น