วันอังคารที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

จัดทำโดย นางสาว วรยา ศรีรักษ์ นักเรียนชั้น ม.4/2 เลขที่ 23 โรงเรียนสตรีนนทบุรีบางใหญ่(นนทกิจพิศาล)

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ

 
 
 
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
 
รมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ  
 
 
           สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ มีพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้าวัญอุไทยวงศ์  ประสูติเมื่อวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๐๑  เป็นพระเจ้าลูกยาเธอองค์ที่สองในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  และเจ้าจอมมารดาเปี่ยม               เมื่อมีพระชันษา ๑๗ ปี  ทรงเข้ารับราชการทำหน้าที่ตรวจบัญชีคลังร่วมกับพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระนเรศร์วรฤทธิ์  ในสมัยนั้นการเก็บภาษีอากรของแผ่นดินยังไม่เป็นระเบียบ ผลประโยชน์ของแผ่นดินรั่วไหลมาก  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงปฏิรูปการปกครองแผ่นดินด้วยการตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์  อันเป็นต้นกำเนิดของกระทรวงการคลังขึ้น  มีการตั้งสำนักงานออดิต ออฟฟิศ  แล้วโปรดเกล้าฯ ให้พระองค์เจ้าเทวัญอุไทยวงศ์เป็นหัวหน้าพนักงาน  ซึ่งทรงปฏิบัติหน้าที่เป็นอย่างดี  ทรงพระปรีชารอบรู้ทั้งภาษาไทย  ภาษาอังกฤษ  และวิชาเลข  ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  จึงโปรดเกล้าฯ  ให้ไปรับราชการช่วยเจ้าพระยาภาสกรวงศ์ (พร  บุนนาค)  ราชเลขฝ่ายต่างประเทศ  หลังจากนั้นทรงดำรงตำแหน่งเป็นราชเลขาธิการ  และได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ  สถาปนาให้ทรงกรม  เป็นกรมหมื่นเทวะวงศ์วโรปการ 
 เมื่อ  พ.ศ. ๒๔๒๔  กรมหมื่นเทวะวงศ์วโรปการ  ทรงริเริ่มให้มีการตั้งทูตไทยประจำราชสำนักต่างประเทศ เพื่อความสะดวกในการเจรจากับกงสุลต่างประเทศ  และทรงดำริที่จะทำสัญญากับอังกฤษจัดตั้งศาลต่างประเทศขึ้นที่เชียงใหม่ อันเป็นการ
เริ่มนำคนในบังคับต่างประเทศมาไว้ในอำนาจศาลไทย
 
ใน พ.ศ. ๒๔๒๔  ตำแหน่งเสนาบดีกรมท่าว่างลง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ  แต่งตั้งกรมหมื่นเทวะวงศ์วโรปการเป็นเสนาบดีกรม  ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ  เลื่อนเป็นพระองค์เจ้าต่างกรมชั้นผู้ใหญ่เป็นกรมหลวงเทวะวงศ์วโรปการ  ดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศ  ทรงพยายามที่จะหาทางรักษาไมตรีระหว่างไทยกับประเทศต่างๆ  ให้ดำเนินไปด้วยดี  กรณีวิกฤตการณ์ ร.ศ. ๑๑๒  มีการปะทะกันระหว่างเรือของฝรั่งเศสกับไทย  พระองค์ทรงช่วยผ่อนคลายสถานการณ์อันตึงเครียดถึงแม้ว่าจะต้องสูญเสียดินแดนไปบ้าง แต่ก็ยังคงรักษาเอกราชของไทยไว้ได้ นสมัยรัชกาลที่ ๖ กรมหลวงเทวะวงศ์วโรปการทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีสืบมา และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว   ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เลื่อนพระอิสริยยศเป็นกรมพระเทวะวงศ์วโรปการ
                เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๙  ทรงเป็นมหาอำมาตย์ยศเทียบเท่ากับจอมพลสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ ๒๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๖๖  พระชันษา ๖๕ ปี  ทรงเป็นต้นราชสกุล  เทวกุล

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ

 
 
 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
 กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
 
         สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ  เป็นพระโอรสในรัชกาลที่ ๔  กับเจ้าจอมมารดาชุ่ม  มีพระนามเดิมว่า  พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร  ประสูติเมื่อวันที่ ๒๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๐๕  ทรงได้รับการศึกษาเบื้องต้นในพระบรมหมาราชวัง  ในสมัยรัชกาลที่ ๕  ได้รับการสถาปนาเป็นกรมหมื่นดำรงราชานุภาพ  แล้วเลื่อนเป็นกรมหลวง  ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๖  ได้เลื่อนขึ้นเป็นกรมพระยา  และเมื่อถึงสมัยรัชกาลที่ ๗  ได้รับการสถาปนาเป็น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ   สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาบ้านเมือง โดยเฉพาะการปฏิรูปประเทศในสมัยรัชกาลที่ ๕  ทรงปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วนความวิริยะอุตสาหะ  มีความรอบรู้  มีความซื่อสัตย์  และจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ทุกพระองค์     
ผลงานสำคัญมี 3 ด้าน      
การศึกษา  
                ใน พ.ศ. ๒๔๒๓  ทรงได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้บังคับการกรมทหารมหาดเล็ก จึงเกี่ยวข้องกับการศึกษามาตั้งแต่นั้น  เนื่องจากมีการตั้งโรงเรียนทหารมหาดเล็กขึ้นในกรมทหารมหาดเล็ก ต่อมาเปลี่ยนเป็นโรงเรียนพลเรือน  จนถึง พ.ศ. ๒๔๓๓  ทรงเป็นอธิบดีกรมศึกษาธิการและกำกับกรมธรรมการ  จึง ปรับปรุงงานด้านการศึกษาให้ทันสมัย เช่น กำหนดจุดมุ่งหมายทางการศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการของประเทศ คือ ฝึกคนเพื่อเข้ารับราชการ กำหนดหลักสูตร เวลาเรียนให้เป็นแบบสากล  ทรงนิพนธ์แบบเรียนเร็วขึ้นใช้เพื่อสอนให้อ่านได้ภายใน ๓ เดือน  มีการตรวจคัดเลือกหนังสือเรียน  กำหนดแนวปฏิบัติราชการในกรมธรรมการ  และริเริ่มขยายการศึกษาออกไปสู่ราษฎรสามัญชน  เป็นต้น    
การปกครอง  
                ทรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยคนแรกเป็นเวลานานถึง ๒๓ ปี ติดต่อกันตั้งแต่  พ.ศ. ๒๔๓๕ - ๒๔๕๘  ทรงมีบทบาทสำคัญในการวางรากฐานระบบการบริหารราชการแผ่นดินส่วนภูมิภาคในแนวใหม่  โดยยกเลิกการปกครองที่เรียกว่า  ระบบกินเมือง   ซึ่งให้อำนาจเจ้าเมืองมาก มาเป็นการรวมเมืองใกล้เคียงกันตั้งเป็นมณฑล  และส่งข้าหลวงเทศาภิบาลไปปกครองและจ่ายเงินเดือนให้พอเลี้ยงชีพ  ระบบนี้เป็นระบบการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง  นอกจากนี้มีการตั้งหน่วยงานใหม่ขึ้นในกระทรวงมหาดไทย  เพื่อทำหน้าที่ดูแลทุกข์สุขราษฎร  เช่น  กรมตำรวจ  กรมป่าไม้  กรมพยาบาล  เป็นต้น  ตลอด เวลาที่ทรงดูแลงานมหาดไทย ทรงให้ความสำคัญแก่การตรวจราชการเป็นอย่างมาก เพราะ ต้องการเห็นสภาพเป็นอยู่ที่แท้จริงของราษฎร ดูการทำงานของข้าราชการ และเป็นขวัญกำลังใจแก่ข้าราชการหัวเมืองด้วย    
งานพระนิพนธ์  
                ทรงนิพนธ์งานด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดี และศิลปวัฒนธรรมไว้เป็นจำนวนมาก  ทรงใช้วิธีสมัยใหม่ในการศึกษาค้นคว้าประวัติศาสตร์และโบราณคดี  จนได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์ไทย    สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงลาออกจากตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๘  ในสมัยรัชกาลที่ ๖  เนื่องจากมีปัญหาด้านสุขภาพ แต่ต่อมาเสด็จกลับเข้ารับราชการอีกครั้ง    ในตำแหน่งเสนาบดีมุรธาธร   และเมื่อถึงสมัยรัชกาลที่ ๗  ทรงดำรงตำแหน่งอภิรัฐมนตรี งานสำคัญอื่นๆ ที่ทรงวางรากฐานไว้  ได้แก่  หอสมุดสำหรับพระนคร  และงานด้านพิพิธภัณฑ์และหอจดหมายเหตุ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพสิ้นพระชนม์เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๖  ทรงเป็นต้นราชสกุล ดิศกุล  ใน พ.ศ. ๒๕๐๕  ยูเนสโกประกาศยกย่องพระองค์ให้เป็นผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรมระดับโลก นับเป็นคนไทยคนแรกที่ได้รับเกียรติจากสถาบันแห่งนี้ 

สมเด็จเจ้าพระยา บรมมหาศรีสุริยวงศ์

 
 
สมเด็จเจ้าพระยา
บรมมหาศรีสุริยวงศ์
 
             สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง  บุนนาค)  เป็นบุตรชายคนใหญ่ของสมเด็จเจ้าพระยามหาประยูรวงศ์ (ดิศ)  กับท่านผู้หญิงจันทร์  เกิดเมื่อวันที่ ๒๓ ธันวาคม  พ.ศ. ๒๓๕๑  ในวัยเด็กได้รับการศึกษาจากวัด  เมื่อเข้าสู่วัยรุ่นในสมัยรัชกาลที่ ๒ บิดาซึ่งขณะนั้นเป็นพระยาพระคลัง  นำไปถวายตัวเป็นมหาดเล็ก และทำงานด้านพระคลังและกรมท่าอยู่กับบิดา  ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๓  รับราชการมีความชอบมาก  ได้เลื่อนบรรดาศักดิ์มาตามลำดับ  จนเป็นหมื่นไวยวรนาถ  ใน พ.ศ. ๒๓๘๔  และเป็นพระยาศรีสุริยวงศ์ในตอนปลายรัชกาล  ครั้นถึงสมัยรัชกาลที่ ๔  ได้เลื่อนขึ้นเป็นเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์  ว่าที่สมุหกลาโหมเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์เป็นผู้ฝักใฝ่สนใจศึกษาศิลปวิทยาของตะวันตก จึงจัดเป็นพวกหัวใหม่คนหนึ่งของสมัยนั้น  ท่านกับบิดาของท่านได้คอยช่วยเหลือสนับสนุนพวกมิชชันนารีที่เข้ามาสมัยรัชกาลที่ ๓  เพื่อให้เผยแพร่วิทยาการและเทคโนโลยีสมัยใหม่ออกไป  เมื่อเซอร์จอห์นเบาว์ริง  เข้า มาทำสนธิสัญญาเบาว์ริงกับไทยในสมัยรัชกาลที่ ๔ เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ทรงเป็น ๑ ใน ๕ ที่รัชกาลที่ ๔ ทรงแต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษาข้อสัญญากับเซอร์จอห์น เบาว์ริง  ทำการทำสนธิสัญญาสำเร็จลุล่วงได้ด้วยดี  และต่อมาท่านได้เป็นผู้แทนฝ่ายไทยในการทำสนธิสัญญาลักษณะเดียวกันกับนานาประเทศในตอนปลายรัชกาลที่ ๔  พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว  ซึ่งเป็นวังหน้าหรือพระมหาอุปราชสวรรคต รัชกาลที่ ๔ ไม่ได้ทรงตั้งผู้หนึ่งผู้ใดขึ้นแทน ครั้นเมื่อรัชกาลที่ ๔ สวรรคตใน พ.ศ. ๒๔๑๑  ที่ประชุมเสนาบดีและพระบรมวงศานุวงศ์จึงได้อัญเชิญเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ขึ้นเสวยราชย์เป็นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  และเชิญเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ขึ้นเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน  โดยมีมติเป็นเอกฉันท์  นอกจากนี้ยังเชิญกรมหมื่นบวรวิชัยชาญ  พระโอรสองค์ใหญ่ของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว  ขึ้นเป็นกรมพระราชวังบวงสถานมงคล แม้จะมีผู้คัดค้านว่าการตั้งผู้ดำรงตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคล  ควรให้เป็นพระราชอำนาจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  แต่เสียงส่วนใหญ่ก็เห็นว่าควงจะตั้งไปเลย  ทั้งนี้อาจเพราะเกรงใจ เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์  ซึ่งสนับสนุนกรมหมื่นบวรวิชัยชาญนับเป็นครั้งแรกในสมัยรัตนโกสินทร์ที่พระมหากษัตริย์ขึ้นเสวยราชย์  ขณะพระชนมพรรษาเพียง ๑๕ พรรษา  และมีผู้ดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแผ่นดินเป็นผู้ใช้อำนาจแทน  จึงมีผู้หวั่นเกรงว่าอาจมีการชิงราชสมบัติดังเช่นที่พระยากลาโหมกระทำในสมัยอยุธยา  แต่เหตุการณ์เช่นนั้นก็มิได้เกิดขึ้น  เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์  ได้บริหารราชการมาด้วยความเรียบร้อย  พร้อมกันนั้นก็ได้จัดให้รัชกาลที่ ๕  ทรงได้รับการฝึกหัดการเป็นพระมหากษัตริย์ตามโบราณราชประเพณี  และให้ทรงเรียนรู้ศิลปวิทยาการสมัยใหม่ควบคู่ไปด้วย  นอกจากนั้นยังจัดให้เสด็จประพาสสิงคโปร์และชวาใน พ.ศ. ๒๔๓๑  อินเดียและพม่าใน พ.ศ. ๒๔๑๕  เพื่อทอดพระเนตรแบบแผนการปกครอง ขนบธรรมเนียมประเพณี ความเจริญของประเทศที่อยู่ในความปกครองของตะวันตก  ซึ่งรัชกาลที่ ๕ ได้ทรงนำแบบอย่างที่เหมาะสมมาปรับปรุงประเทศให้เจริญก้าวหน้าในเวลาต่อมาเมื่อรัชกาลที่ ๕  ทรงบรรลุนิติภาวะใน พ.ศ. ๒๔๑๖  ได้มีพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเป็นครั้งที่ ๒  ซึ่งแสดงว่าจะทรงว่าราชการบ้านเมืองเอง  ในพระราชพิธีครั้งนี้โปรดเกล้าฯ  ให้เลื่อนบรรดาศักดิ์เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์เป็นสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์
                แม้สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์จะพ้นจากตำแหน่งผู้สำเร็จราชกาลแผ่นดินแล้ว  แต่ก็คงทำหน้าที่ที่ปรึกษาราชการแผ่นดินต่อมา  จนถึงแก่พิราลัยใน พ.ศ. ๒๔๒๕  รวมอายุได้ ๗๔  ปี

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว



 
 
 
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
 
                           พระราชประวัติ

                  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระราชโอรสในรัชกาลที่ ๔  และสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี  พระราชสมภพเมื่อวันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๓๙๖  มี พระนามเดิมว่า สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ ทรงได้รับการศึกษาขั้นต้นในพระบรมมหาราชวัง เมื่อพระชนมายุ ๑๓ พรรษา ทรงเป็นกรมขุนพินิตประชานาถ เสวยราชย์เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๑๑
                ขณะมีพระชนมพรรษาเพียง ๑๕ พรรษา  โดยมีเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง  บุนนาค)  เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน  จนถึง พ.ศ. ๒๔๑๖ ทรงบรรลุนิติภาวะ  พระชนมพรรษาครบ ๒๐ พรรษา จึงมีพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งที่ ๒ ทรงครองราชสมบัติยาวนานถึง ๔๒ ปี  สวรรคตเมื่อวันที่ ๒๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๓
 
 พระราชกรณียกิจที่สำคัญ
 
        เพื่อให้ไทยเจริญก้าวหน้าทัดเทียมอารยประเทศและรอดพ้นจากภัยจักรวรรดินิยมที่กำลังคุกคามภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อยู่ขณะนั้น  รัชกาลที่ 5 ทรงพัฒนาและปรับปรุงประเทศทุกด้าน เช่น 
การปกครอง
                ทรงปฏิรูปการปกครองใหม่ตามอย่างตะวันตก  แยกการปกครองออกเป็น 3 ส่วน คือการปกครองส่วนกลาง  แบ่งเป็นกระทรวงต่างๆ การปกครองส่วนภูมิภาคโดยระบบเทศาภิบาลและการปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปสุขาภิบาล กฎหมายและการศาล
                ให้ตั้งกระทรวงยุติธรรมรับผิดชอบศาลยุติธรรม  เป็นการแยกอำนาจตุลาการออกจากฝ่ายบริหารเป็นครั้งแรก  ยกเลิกจารีตนครบาล
                ที่ใช้วิธีโหดร้ายทารุณในการไต่สวนคดีความ  ตั้งโรงเรียนกฎหมายขึ้น และประกาศใช้ประมวลกฎหมายลักษณะอาญาอันเป็นประมวลกฎหมายฉบับแรกของไทย  การปรับปรุงกฎหมายและการศาลนี้เป็นลู่ทางที่ทำให้ประเทศไทยสามารถแก้ปัญหาสิทธิสภาพนอกอาณาเขตได้ในภายหลัง 
สังคมและวัฒนธรรม 
               ทรงยกเลิกระบบทาสและระบบไพร่ ให้ประชาชนมีอิสระในการดำรงชีวิต  ยกเลิกประเพณีที่ล้าสมัย  และรับเอาวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามา 
การเงิน การธนาคารและการคลัง
                ผลจากการทำสนธิสัญญาเบาว์ริงในสมัยรัชกาลที่ ๔  ทำให้เศรษฐกิจการค้าขยายตัว  มีชาวต่างประเทศเข้ามาทำกิจการในประเทศไทยมากขึ้น  รัชกาลที่ ๕  จึงให้ออกใช้ธนบัตรและมีการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนที่แน่นอนเป็นครั้งแรก  ทรงอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ของต่างประเทศเข้ามาตั้งสาขาและสนับสนุนให้คนไทยตั้งธนาคารพาณิชย์ขึ้น  ในด้านการคลัง มีการจัดทำงบประมาณแผ่นดินเป็นครั้งแรก  และปรับปรุงระบบจัดเก็บภาษีอากรให้มีประสิทธิภาพขึ้น 
สาธารณูปโภค
                ทรงให้สร้างถนนเพิ่มเติม ขุดคลองใหม่และลอกคลองเดิม  เพื่อใช้ในการคมนาคมและขยายพื้นที่เพาะปลูก  ทรงริเริ่มให้จัดกิจการสาธารณูปโภคหลายอย่างขึ้นเป็นครั้งแรก เช่น รถไฟ  รถราง  โทรเลข  ไปรษณีย์  โทรศัพท์  ไฟฟ้า  ประปา  การ
แพทย์และการสาธารณสุข
                ทรงปรับปรุงกิจการด้านนี้ให้เป็นแบบสมัยใหม่ เช่น ตั้งโรงพยาบาลวังหลัง (ศิริราช)  สภาอุณาโลมแดง (สภากาชาดไทย)  กรมสุขาภิบาล  โรงเรียนสอนแพทย์  โรงเรียนผดุงครรภ์และพยาบาล  เป็นต้น 
ารศึกษา
                มีการสร้างโรงเรียนหลวง  เพื่อ ให้การศึกษาแก่ราษฎรและทรงส่งพระราชโอรสและพระบรมวงศานุวงศ์ไปศึกษาต่าง ประเทศ จุดมุ่งหมายของการจัดการศึกษาก็เพื่อฝึกคนให้มีความรู้สำหรับเข้ารับราชการ               
การศาสนา 
               โปรดเกล้าฯ  ให้ตราพระราชบัญญัติลักษณะปกครองสงฆ์  จัดตั้งสถานศึกษาสงฆ์ คือ มหามกุฏราชวิทยาลัย  และให้มีการสังคายนาพระไตรปิฎก 
การทหาร
                ทรงปรับปรุงหน่วยทหารและอาวุธยุทธภัณฑ์ให้ทันสมัย  ตั้งกรมยุทธนาธิการซึ่งภายหลังเปลี่ยนเป็นกระทรวงกลาโหม  ตั้งโรงเรียนนายร้อยทหารบก  โรงเรียนนายเรือ  และตราพระราชบัญญัติเกณฑ์ทหารขึ้นใช้เป็นครั้งแรก
                ในการปรับปรุงพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ  เนื่อง จากในขณะนั้นคนไทยมีความรู้ความเชี่ยวชาญในวิทยาการสมัยใหม่ยังมีน้อย รัชกาลที่ ๕ จึงต้องทรงจ้างชาวต่างประเทศเข้ามาเป็นที่ปรึกษาและรับราชการเป็นจำนวนมาก ส่งวนใหญ่เป็นชาวตะวันตก เช่น อังกฤษ  อเมริกัน  เยอรมัน  ฝรั่งเศส  เบลเยียม  เดนมาร์ก  ที่เป็นชาวตะวันออกก็มีอยู่บ้าง เช่น ญี่ปุ่น  ลังกา  ปรากฏว่าชาวต่างประเทศที่จ้างมาทำงานได้ผลดีสร้างคุณประโยชน์ให้แก่ประเทศไทยเป็นอย่างมาก  บางคนได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นถึงพระยา เจ้าพระยานอกจากนี้รัชกาลที่ 5  ยังทรงเป็นพระมหากษัตริย์ไทยพระองค์แรกที่เสด็จพระราชดำเนินต่างประเทศ  โดยได้เสด็จประพาสสิงคโปร์ของอังกฤษและเกาะชวาอาณานิคมของฮอลันดา  ต่อมาเสด็จประพาสอินเดียซึ่งเป็นอาณานิคมของอังกฤษ  ทรงนำความเจริญของดินแดนเหล่านี้มาประกอบในการพัฒนาประเทศไทย
                ใน พ.ศ. ๒๔๔๐ รัชกาลที่ ๑  เสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ ๑  ได้เสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศต่าง ๆ  กว่า ๑๐ ประเทศ  เป็นผลดีต่อฐานะของประเทศไทยในสังคมระหว่างประเทศ  ต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๔๙ ๒ - ๒๔๕๐ ได้เสด็จประพาสยุโรปเป็นครั้งที่ ๒  เพื่อเยี่ยมพระราชโอรสที่ศึกษาอยู่ในประเทศต่างๆ  และรักษาพระองค์ตามที่แพทย์ถวายคำแนะนำ  ในโอกาสเดียวกันทรงได้เจรจาเพื่อแก้ไขปัญหาทางการเมืองกับประเทศต่าง ๆ ด้วย  แม้ว่ารัชกาลที่ ๕  จะทรงพัฒนาประเทศทุก ๆ  ด้าน และพยายามผูกมิตรกับประเทศมหาอำนาจต่าง ๆ  แต่ประเทศไทยก็ยังไม่อาจรอดพ้นภัยจากลัทธิล่าอาณานิคมโดยสิ้นเชิง  ดังเช่นเกิดพิพาทกับฝรั่งเศสจนถึงขั้นปะทะกันที่ปากน้ำ สมุทรปราการ  ซึ่งเรียกว่าเหตุการณ์ ร.ศ. ๑๑๒ (พ.ศ. ๒๔๓๖)  เป็นต้น  รัชกาลที่ ๕ ต้องทรงยอมเสียดินแดนบางส่วนให้แก่ฝรั่งเศสและอังกฤษ  เพื่อรักษาเอกราชและดินแดนส่วนใหญ่ไว้   ทำให้ประเทศไทยรอดพ้นจากการเป็นอาณานิคมเพียงประเทศเดียวในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
                พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ทรงมีพระกรุณาธิคุณต่อประชาชนชาวไทยและประเทศไทยอย่างใหญ่หลวง  จึงทรงได้รับพระราชสมัญญาว่า  พระปิยมหาราช  อันหมายถึงว่า  ทรงเป็นที่รักยิ่งของปวงชนชาวไทย  และในโอกาสครบรอบ ๑๕๐ พรรษาแห่งวันคล้ายวันพระราชสมภพ  วันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๖  องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ  หรือยูเนสโก (UNESCO)  ได้ประกาศ ยกย่องให้พระองค์เป็นบุคคลสำคัญและมีผลงานดีเด่นของโลกทางสาขาการศึกษา วัฒนธรรม สังคมศาสตร์ มานุษยวิทยา การพัฒนาสังคมและสื่อสาร 

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช



 
 
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช 
 
                                   พระราชประวัติ

 
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช มีพระนามเดิมว่า ด้วง  ประสูติในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ  เมื่อวันที่ ๒๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๒๗๙  พระบิดามีพระนามเดิมว่า ทองดี พระมารดาชื่อ หยก
                เมื่อทรงมีพระชันษา ๒๑ พรรษา  ทรงผนวชเป็นพระภิกษุ ๓ เดือน  เมื่อลาสิกขาก็ทรงเข้ารับราชการในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าอุทุมพร ครั้นถึงแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าเอกทัศทรงได้รับตำแหน่งเป็นหลวงยกกระบัตร  ประจำเมืองราชบุรี  พระองค์ทรงมีความชำนาญในการรบอย่างยิ่ง  จึงได้รับพระราชทานปูนกำเหน็จความดีความชอบให้เลื่อนเป็นพระราชวรินทร์  พระยาอภัยรณฤทธิ์ พระยายมราชว่าที่สมุหนายก  เจ้าพระยาจักรี  และในที่สุดได้เลื่อนเป็นเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก   มีเครื่องยศอย่างเจ้าต่างกรม  เมื่อทรงตีได้เวียงจันทร์   พระองค์ได้อัญเชิญพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร (พระแก้วมรกต)  จากเมืองจันทน์มายังกรุงธนบุรีด้วย  ต่อมาเกิดเหตุจลาจลได้สำเร็จ  ข้าราชการและประชาชนจึงอัญเชิญเป็นพระมหากษัตริย์แทนสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
 
                                     พระราชกรณียกิจ
 
           พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงเป็นทั้งนักปกครองและนักการทหารที่ยอดเยี่ยม  ทรงแต่งตั้งให้เจ้านายที่เคยผ่านราชการทัพศึกมาทำหน้าที่ช่วยในการปกครองบ้านเมืองโปรดเกล้าฯ
                  - ให้ชำระกฎหมายให้สอดคล้องกับยุคสมัยของบ้านเมือง คือ กฎหมายตราสามดวง
                 - รวมถึงการชำระพระพุทธศาสนาให้บริสุทธิ์อันเป็นเครื่องส่งเสริมความมั่นคงของกรุงรัตนโกสินทร์
                  - นอกจากนี้พระองค์ยังคงทรงส่งเสริมวัฒนธรรมของชาติ  ทั้งด้านวรรณกรรมที่ทรงแสดงพระปรีชาสามารถในการประพันธ์  โดยพระราชนิพนธ์  บทละครเรื่องรามเกียรติ์  บทละครเรื่องอุณรุท  บทละครเรื่องอิเหนา  บทละครเรื่องดาหลัง  เพลงยาวรบพม่าที่ท่าดินแดง  นอกจากด้านวรรณกรรมแล้ว  พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชยังทรงส่งเสริมศิลปะด้านสถาปัตยกรรม  ประติมากรรม  และนาฏกรรม
                 - ภายหลังที่ครองกรุงรัตนโกสินทร์เพียง ๓ ปี  ได้เกิดศึกพม่ายกทัพมาตีเมืองไทย  พระองค์ทรงจัดกองทัพต่อสู้จนทัพพม่าแตกพ่าย  ยังความเป็นเอกราชให้กับแผ่นดินไทยมาจนทุกวันนี้  พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณอย่างล้นพ้นต่อพสกนิกรชาวไทย เป็น มหาราช อีกพระองค์หนึ่งในประวัติศาสตร์ไทยและทรงเป็นปฐมบรมกษัตริย์แห่งราชจักรีวงศ์  ที่ปกครองบ้านเมืองให้เกิดความสงบสุขจวบจนปัจจุบัน